วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สิน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

       สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์โบว์ได้แนะแนวข้อสอบ และให้นักศึกษาทำ My Mapping เกี่ยวกับความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 


My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน 
วิชาการจัดประสบการณ์การภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย




ความรู้ที่ได้รับ
        ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และสามารถนำความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนไปประยุกต์กับการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15 


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาชมวีดีโอ เรื่อง ภาษาธรรชาติ 


ความรู้เพิ่มเติม แนวการสอนสอนภาษาแบบธรรมชาติ
              การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่มีความหมายในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนภาษา เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาที่งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อมๆกัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำในสิ่งที่สนใจ ได้มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูในบรรยากาศที่อบอุ่นและยอมรับ
             การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในการพัฒนาทางด้านภาษา ด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น

            หลังจากชมวีดีโอจบแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน ทำกิจกรรม " แผนการสอน "

            การวางแผนการสอน คือ การเตรียมสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการสอนสำหรับครู อันจะช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ตัวอย่าง  การเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ  
  • จุดประสงค์
  • สาระ
          - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
          - บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
          - ธรรมชาติรอบตัว
          - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน
            กลุ่มของดิฉันเลือกทำแผนจัดประสบการณ์ " เรื่อง มะพร้าว "


  • ชื่อ :  มะพร้าวมหัศจรรย์
  • จุดประสงค์ :  เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ของมะพร้าว
  • สาระ :  สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน :  ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรงต่างๆ เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กนำมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป :  เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนของมะพร้าวของมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรง ลักษณะ สี และสามารถบอกได้
  • ประเมิน :  ใช้การสังเกตและแบบประเมิน



การนำเสนอ แผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"





ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้เรื่องการสอนภาษาธรรมชาติและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องเพื่อเป็นแนวการสอนในวันข้างหน้า และอาจารย์ได้แนะนำวิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อปรับบุคลิกภาพในการยืน การพูด ให้ดูสง่าและน่าฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สิน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

         อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาไหว้ให้ดูและสอนวิธีการไหว้ที่ถูกต้องให้นักศึกษาปฎิบัติตาม ซึ่งการไหว้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกความอ่อนน้อม
         หลังจากนั้น อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5คน โดยให้ออกแบบห้องเรียนหรือมุมต่างๆ แล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานหน้าห้อง ว่าผลงานนนั้นมีมุมการจัดประสบการณ์อะไรบ้างและแต่ละมุมช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาได้อย่างไร ซึ่งการนำเสนอผลงานสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอด้วย

กลุ่มของดิฉันเลือกทำมุมการจัดประสบการณ์ ทั้งหมด 4 มุม 

  • มุมศิลปะ
  • มุมหนังสือ
  • มุมสัตว์โลกน่ารัก
  • มุมบ้านแสนสุข 



    

ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้วิธีการจัดห้องหรือจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการและทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์  และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในอนาคตได้

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ 
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

อาจารย์โบว์สอน เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
           หลักการ
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจาม

          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ ๆ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่าง ๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่าานลำพังและเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
           มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ  ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
           มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สื่อของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์


             เมื่อสอนเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างของอาจารย์ โดยการเขียนนั้นต้องเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยม


ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย          ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ และกิจกรรมคัดลายมือ ก-ฮ ช่วยให้ดิฉันเขียนพยัญชนะ         ได้ถูกต้องตามหลักภาษา สวยงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

          อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเต้นประกอบจังหวะก่อนเข้าสู้บทเรียน หลังจากนั้นอาจารย์โบว์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดเกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม ซึ่งต้องประกอบด้วย วิธีการเล่น นักทฤษฎีที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่เลือก และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้

      * กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านภาษา  *


เกมถอดรหัสคำ



ภาพด้านบนซ้ายมือ
1. ปากกา
2. ปลาดาว 
3. รถไฟ
4. ผีเสื้อ
5. ถุงเท้า

จากภาพด้านบนขวามือ
              วิธีการเล่น
              ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกันและให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ
              นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
              บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง บรูเนอร์เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นหาด้วยตัวเอง
              ตัวอย่าง
         ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
         ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจเองได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            ประโยขน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

            เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
             ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีเพลงให้เพื่อนๆ ได้ร่วมกิจกรรมโดยการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ชื่อเพลง อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน
          
            เพลง  อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน  
                       *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                       อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                       หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                       หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู
                       ( ซ้ำ* )  




ความรู้ที่ได้รับ

         สื่อที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำมาประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สนใจในการเรียนรู้มากขึ้น สามารถนำสื่อไปปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม และได้ฝึกความกล้าแสดงออก บุคลิกภาพในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11 


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  23 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

 ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูแล้วตอบว่ามันคืออะไร ?



               จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา                 
ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และ นาน
          1.สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
           2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่าง ๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
          3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
          4.สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
          5.สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
               อาจารย์โบว์เปิดเสียงสัตว์ให้นักศึกษาฟังว่าเสียงที่ได้ยินนั้น คือเสียงอะไร...
* เสียงที่ได้ยินทั้งหมดมีดังนี้ *
สุนัข  หมู  แมว  วัว  ไก่โต้ง  ม้า  แม่ไก่
พ่อไก่  เป็ด  ลา  แกะ  ลูกไก่  เสียงปรบมือ
(เป็นกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เช่น เปิดภาพสัตว์ แล้วให้เด็กทำเสียงตาม)

                และท้ายชั่วโมง อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา    
  # ดิฉันเลือกทำ ช้าง (Elephant )




ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รู้ถึงความหมาย ความสำคัญเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา และได้ประดิษฐ์สื่อซึ่งสามารถนำมาทำเป็นของตกแต่ง เช่น นำไปตั้งโต๊ะ หรือสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนทางภาษาได้ โดยที่เด็กสามารถประดิษฐ์สื่อได้เองและอ่านออกเสียงตาม เช่น  (Elephant ) แปลว่า ช้าง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน        

สัปดาห์ที่ 10  


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  16 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

          เนื่องจากสัปดาห์นี้อาจารย์จินตนาไม่ได้เข้าสอน จึงให้อาจารย์โบว์(อาจารย์พิเศษ) มาสอนในวันนี้แทน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายวิธีการทำสื่อและแจกอุปกรณ์ในการทำสื่อให้แต่ละกลุ่ม 

สื่อชิ้นแรก คือ หุ่นนิ้วมืออาเซียน






สื่อชินที่สอง คือ ภาพ POP UP (ภาพเคลื่อนไหว)


* ความรู้ที่ได้จากการทำสื่อและการนำไปใช้ *

             ได้รู้ถึงวิธีการทำหุ่นนิ้วมืออาเซียนและภาพ POP UP ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถทำเองได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือสามารถนำสื่อไปปรับใช้กับเด็กได้

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9  

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  9 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
                   อาจารณ์พูดถึงเรื่องการทำบล็อก ว่าควรปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง อย่างเช่น เรื่องของการใช้ภาษา และอาจารย์แนะนำว่าเวลาที่ออกไปนำเสนองานทุกครั้งควรถ่าย VDOไว้ลงในบล็อกด้วย หลังจากอธิบายเรื่องบล็อกเสร็จ  อาจารย์ก็สอนร้องเพลง เป็นเพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำมาใช้ในการสอน เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน ซึ่งเพลงสำหรับเด็กควรเป็นเพลงที่จำง่าย และใช้คำซ้ำๆกัน 

          *  เพลง Hello! *    
     Hello!  Hello!  Hello!          How are you?
     สวัสดี  สวัสดี  สวัสดี             สบายดีหรือเปล่า 
     I'm fine I'm fine                  I hope that you are too.
     สบายดี  สบายดี                  ฉันหวังว่าเธอคงสบายดี




          * เพลง ตบแผละ *
     ตบแผละ   ตบแผละ   ตบแผละ
     ปากใจตรงกันนั่นแหละ
     เรามาลองฝึกกัน
     จิต กาย สัมพันธ์กับปาก ตบแผละ 

          * เพลง บอกว่าน่ารักจัง *
     บอกกับคนซ้าย          ว่าน่ารักจัง
     บอกกับคนขวามือ       ว่าน่ารักจัง
     บอกกับเพื่อนทุกคน    ทุก ๆ คน
     บอกกับเพื่อนทุกคน    ไม่เว้นสักคน
     บอกกับเพื่อนทุกคน    ทุกคน บอกว่าน่ารักจัง

          * เพลง ตา หู จมูก *
     ตา หู จมูก จับให้ถูก
     จับ จมูก ตา หู
     จับใหม่จับให้ฉันดู  จับใหม่จับให้ฉันดู
     จับ จมูก ตา หู
     จับ หู ตา จมูก

          * เพลง แปรงฟัน *
     แปรงซิ แปรง แปรงฟัน
     ฟันหนู สวย สะอาดดี
     แปรงขึ้น แปรงลงทุกซี่
     สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน

          * เพลง แมงมุมลายตัวนั้น *
     แมงมุมลายตัวนั้น      ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
     วันนึงมันเปียกฝน      ไหลลงจากบนหลังคา
     พระอาทิตย์ส่องแสง  ฝนแห้งเหือดไปลับตา
     มันรีบไต่ขึ้นมา          หันหลังมาทำตาลุกวาว


          * เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ *
     อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง     ทิ้งแล้วจะสกปรก
     ถ้าเราเห็นมันรก                ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

          * เพลง บ้านของฉัน *
     บ้านของฉัน        อยู่ด้วยกันมากหลาย
     คุณพ่อ คุณแม่     ปู่ ย่า ตา ยาย
     อีกทั้งน้าอา         พี่และน้องมากมาย
     ทุกคนสุขสบาย    เราเป็นพี่น้องกัน
     
          * เพลง ขอบคุณ ขอบใจ *
     เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ
     หนู หนู ควรต้องนึกถึงพระคุณ
     น้อมไหว้กล่าวคำ "ขอบพระคุณ"
     เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
     นึกถึงบุญคุณกล่าวคำ "ขอบใจ"

          * เพลง ตาดูหูฟัง *
     ตาเรามีไว้ดู  หูเรามีไว้ฟัง
     เวลาครูสอนครูสั่ง  ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู  

อาจารย์สั่งงานท้ายชั่่วโมง
- ให้ไปแก้ไข Blogger
- ให้เลือกเพลงที่อาจารย์สอนวันนี้มา 1เพลง แล้วนำมาแปลงเพลงใหม่เอง
- ถอดรหัสคำ
- ให้แบ่งกลุ่มแปลงเพลง

ความรู้ที่ได้รับ
                ได้เรียนรู้ภาษาแต่ละประเทศในอาเซียน ได้รู้จักเพลงที่เหมาะสำหรับใช้เป็นสื่อการสอนว่าเพลงแต่ละเพลงนั้นสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในด้านใดบ้าง และสามารถนำเพลงไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้
        

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8  


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  2 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


* ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  26  กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน ศุกร์เช้า  08.30  - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


อาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนออกมาร้องเพลงกล่อมเด็กประจำภาคแต่ลภาค 
          ดิฉันเลือกเพลงประจำภาคอิสาน คือ เพลงกล่อมลูกอิสาน

 นอนเด้อหล่า หลับตาเเม่สิกล่อม 
เจ้าบ่นอน บ่ไห้กินกล้วย 
เเม่ไปห้วย หาซ่อนปลาปู 
เก็บผักติ้ว มาไส่เเกงเห็ด 
ไปไส่เบ็ด เอาปลาข่อใหญ่ 
อย่าร้องให้ เเมวโพงสิจ๊กตา 
เจ้านอนซ่า เเมวโพงสิจ๊กหำ 
เจ้านอนค่ำ แมวโพงสิจ๊กก้น 
ติง ลิง ติ่ง ลิง ติ้ง ลิง ติง 
สิงลูกเเก้วนอนนานำพ่อ 
สิงลูกเเก้วกินเเล้วจั่งนอน 
ติง ลิง ติ่ง ลิง ติ้ง ลิง ติง 
ลิงตกส่าง หางซันจิ่งดิ่ง 
ตกก้นคุ อย่าขี้กลางคืน 
ขี้กลางคืน ย่านเสือมาพ่อ 
ขี้มื่อเช้า ย่านเเมวเป้ามาเห็น 
ยามกลางเวน จั่งขี้จั่งเหยี่ยว 
เอ้อ เฮอ เออ เฮอะ เอ้อ เฮอะ เออ 
นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม ***
นอนสาหล่า หลับตา แมสิกล่อม...


      หลังจากนั้น อาจารย์ก็เปิดเพลง " เกาะสมุย " ให้นักศึกษาฟังแล้วให้จับประเด็นว่าเพลงนี้พูดถึงอะไร มีความหมายอย่างไร และให้บอกสถานที่  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมของเพลงนี้ 
        การนำเพลงมาประกอบสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ การนำเพลงมาช่วยในการสอนก่อนเข้าสู่บทเรียนนั้นอยู่ในขั้นที่ 1 ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3ขั้น คือ  ขั้นที่1 นำเข้าสู่บทเรียน  ขั้นที่2 ปฏิบัติการสอน ขั้นที่3 สรุป การนำเพลงมาช่วยในการสอนจะสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ จะทำให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น 


กิจกรรมท้ายชั่วโมง
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น วาดรูปให้สัมพันธืกัน ซึ่งกลุ่มของดิฉันวาดรูปสัตว์ต่างๆ มีทั้งสัตว์ที่ดุร้ายและไม่ดุร้าย  พร้อมกับข้อควรระวัง แล้วให้ส่งตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน



ข้อควรระวัง : ระวังสัตว์บางชนิอาจทำร้ายได้


ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูป การออกแบบผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  19  กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน ศุกร์เช้า  08.30  - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


* สัปดาห์นี้ดิฉันหยุดเรียน เนื่องจากเป็นวันเข้าพรรษาและ วันอาสาฬหบูชา  
ดิฉันจึงเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  12  กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน ศุกร์เช้า  08.30  - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

ในการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่3    เรื่องพัฒนาการด้านสติปัญญาแรกเกิดถึง 2 ปี
กลุ่มที่4    เรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี
กลุ่มที่6    เรื่องทฤฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
กลุ่มที่7    เรื่องวิธีการเรียนรู้
กลุ่มที่8    เรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่9    เรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่11  เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย  

ทุกครั้งหลังจากที่นำเสนองานเสร็จ อาจารย์และเพื่อนๆจะร่วมเเสดงความคิดเห็นเพื่อนำเรื่องที่ต้องปรับปรุงไปแก้ไขในการนำเสนองานครั้งต่อไป  และท้ายคาบอาจารย์ให้เพื่อนๆ

แถวที่1   หยิบสิ่งของอะไรก็ได้ที่ตนเองรักขึ้นมา 1 อย่าง แล้วให้บอกว่าทำไมถึงรักของสิ่งนี้ เพราะอะไร
แถวที่2   ให้โฆษณาและนำเสนอขายของที่ตนเองรัก 1 อย่าง เพื่อให้เพื่อนอยากได้
แถวที่3   เล่าข่าวที่ตนเองเจอมา 1 ข่าว แล้วเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
แถวที่4   ประชาสัมพันธ์เรื่องอะไรก็ได้ 1 ประชาสัมพันธ์
แถวที่5   ให้ร้องเพลงเด็ก คนละ 1 เพลง
แถวที่6   ให้หากระดาษมา คนละ 1 แผ่น วาดรูปอะไรก็ได้ 1รูป แล้วออกไปเล่าเรื่องให้สัมพันธ์กัน

ดิฉันอยู่แถวที่4 ได้ประชาสัมพันธ์บึงพลาญชัยร้อยเอ็ด


ความรู้ที่ได้รับ
         ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีและพัฒนาการในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ ส่วนกิจกรรมในวันนี้ทำให้เราได้ฝึกการคิด วิธีการพูด การเลือกเรื่องที่จะนำเสนอให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และความกล้าแสดงออกในการพูดต่อหน้าประชุมชน