สัปดาห์ที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเต้นประกอบจังหวะก่อนเข้าสู้บทเรียน หลังจากนั้นอาจารย์โบว์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดเกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม ซึ่งต้องประกอบด้วย วิธีการเล่น นักทฤษฎีที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่เลือก และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้
* กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านภาษา *
เกมถอดรหัสคำ
ภาพด้านบนซ้ายมือ
1. ปากกา
2. ปลาดาว
3. รถไฟ
4. ผีเสื้อ
5. ถุงเท้า
จากภาพด้านบนขวามือ
วิธีการเล่น
ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกันและให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ
นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง บรูเนอร์เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นหาด้วยตัวเอง
ตัวอย่าง
ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจเองได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
ประโยขน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน
เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีเพลงให้เพื่อนๆ ได้ร่วมกิจกรรมโดยการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ชื่อเพลง อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน
เพลง อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน
*อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู
ความรู้ที่ได้รับ
สื่อที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำมาประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สนใจในการเรียนรู้มากขึ้น สามารถนำสื่อไปปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม และได้ฝึกความกล้าแสดงออก บุคลิกภาพในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น