สัปดาห์ที่ 11
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 23 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูแล้วตอบว่ามันคืออะไร ?
ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูแล้วตอบว่ามันคืออะไร ?
จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย
- วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
- เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
- เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
- เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นรูปธรรม
- จำได้ง่าย เร็ว และ นาน
1.สื่อสิ่งพิมพ์
- สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
- เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
- หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
- สิ่งของต่าง ๆ
- ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์
- สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
- คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
4.สื่อกิจกรรม
- วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
- ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
- เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
5.สื่อบริบท
- สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
- สภาพแวดล้อม
- ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
อาจารย์โบว์เปิดเสียงสัตว์ให้นักศึกษาฟังว่าเสียงที่ได้ยินนั้น คือเสียงอะไร...
* เสียงที่ได้ยินทั้งหมดมีดังนี้ *
สุนัข หมู แมว วัว ไก่โต้ง ม้า แม่ไก่
พ่อไก่ เป็ด ลา แกะ ลูกไก่ เสียงปรบมือ
(เป็นกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เช่น เปิดภาพสัตว์ แล้วให้เด็กทำเสียงตาม)
(เป็นกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เช่น เปิดภาพสัตว์ แล้วให้เด็กทำเสียงตาม)
และท้ายชั่วโมง อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา
# ดิฉันเลือกทำ ช้าง (Elephant )
# ดิฉันเลือกทำ ช้าง (Elephant )
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้ถึงความหมาย ความสำคัญเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา และได้ประดิษฐ์สื่อซึ่งสามารถนำมาทำเป็นของตกแต่ง เช่น นำไปตั้งโต๊ะ หรือสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนทางภาษาได้ โดยที่เด็กสามารถประดิษฐ์สื่อได้เองและอ่านออกเสียงตาม เช่น (Elephant ) แปลว่า ช้าง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น