วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สิน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

       สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์โบว์ได้แนะแนวข้อสอบ และให้นักศึกษาทำ My Mapping เกี่ยวกับความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 


My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน 
วิชาการจัดประสบการณ์การภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย




ความรู้ที่ได้รับ
        ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และสามารถนำความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนไปประยุกต์กับการเรียนการสอนในวันข้างหน้าได้

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15 


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาชมวีดีโอ เรื่อง ภาษาธรรชาติ 


ความรู้เพิ่มเติม แนวการสอนสอนภาษาแบบธรรมชาติ
              การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่มีความหมายในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนภาษา เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาที่งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อมๆกัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำในสิ่งที่สนใจ ได้มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูในบรรยากาศที่อบอุ่นและยอมรับ
             การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในการพัฒนาทางด้านภาษา ด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น

            หลังจากชมวีดีโอจบแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน ทำกิจกรรม " แผนการสอน "

            การวางแผนการสอน คือ การเตรียมสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการสอนสำหรับครู อันจะช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ตัวอย่าง  การเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ  
  • จุดประสงค์
  • สาระ
          - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
          - บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
          - ธรรมชาติรอบตัว
          - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน
            กลุ่มของดิฉันเลือกทำแผนจัดประสบการณ์ " เรื่อง มะพร้าว "


  • ชื่อ :  มะพร้าวมหัศจรรย์
  • จุดประสงค์ :  เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ของมะพร้าว
  • สาระ :  สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน :  ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรงต่างๆ เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กนำมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป :  เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนของมะพร้าวของมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรง ลักษณะ สี และสามารถบอกได้
  • ประเมิน :  ใช้การสังเกตและแบบประเมิน



การนำเสนอ แผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"





ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้เรื่องการสอนภาษาธรรมชาติและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องเพื่อเป็นแนวการสอนในวันข้างหน้า และอาจารย์ได้แนะนำวิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อปรับบุคลิกภาพในการยืน การพูด ให้ดูสง่าและน่าฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สิน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

         อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาไหว้ให้ดูและสอนวิธีการไหว้ที่ถูกต้องให้นักศึกษาปฎิบัติตาม ซึ่งการไหว้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกความอ่อนน้อม
         หลังจากนั้น อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5คน โดยให้ออกแบบห้องเรียนหรือมุมต่างๆ แล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานหน้าห้อง ว่าผลงานนนั้นมีมุมการจัดประสบการณ์อะไรบ้างและแต่ละมุมช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาได้อย่างไร ซึ่งการนำเสนอผลงานสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอด้วย

กลุ่มของดิฉันเลือกทำมุมการจัดประสบการณ์ ทั้งหมด 4 มุม 

  • มุมศิลปะ
  • มุมหนังสือ
  • มุมสัตว์โลกน่ารัก
  • มุมบ้านแสนสุข 



    

ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้วิธีการจัดห้องหรือจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการและทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์  และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในอนาคตได้

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ 
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

อาจารย์โบว์สอน เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
           หลักการ
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจาม

          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ ๆ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่าง ๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่าานลำพังและเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
           มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ  ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
           มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สื่อของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์


             เมื่อสอนเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างของอาจารย์ โดยการเขียนนั้นต้องเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยม


ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รับความรู้เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย          ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ และกิจกรรมคัดลายมือ ก-ฮ ช่วยให้ดิฉันเขียนพยัญชนะ         ได้ถูกต้องตามหลักภาษา สวยงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน ศุกร์เช้า 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

          อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเต้นประกอบจังหวะก่อนเข้าสู้บทเรียน หลังจากนั้นอาจารย์โบว์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดเกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม ซึ่งต้องประกอบด้วย วิธีการเล่น นักทฤษฎีที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่เลือก และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้

      * กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านภาษา  *


เกมถอดรหัสคำ



ภาพด้านบนซ้ายมือ
1. ปากกา
2. ปลาดาว 
3. รถไฟ
4. ผีเสื้อ
5. ถุงเท้า

จากภาพด้านบนขวามือ
              วิธีการเล่น
              ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกันและให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ
              นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
              บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง บรูเนอร์เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นหาด้วยตัวเอง
              ตัวอย่าง
         ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
         ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจเองได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            ประโยขน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆมากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

            เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
             ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีเพลงให้เพื่อนๆ ได้ร่วมกิจกรรมโดยการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ชื่อเพลง อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน
          
            เพลง  อู๊ด อู๊ด.. หมูอ้วน  
                       *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                       อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                       หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                       หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู
                       ( ซ้ำ* )  




ความรู้ที่ได้รับ

         สื่อที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำมาประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สนใจในการเรียนรู้มากขึ้น สามารถนำสื่อไปปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม และได้ฝึกความกล้าแสดงออก บุคลิกภาพในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11 


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  23 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

 ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูแล้วตอบว่ามันคืออะไร ?



               จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา                 
ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และ นาน
          1.สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
           2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่าง ๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
          3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
          4.สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
          5.สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
               อาจารย์โบว์เปิดเสียงสัตว์ให้นักศึกษาฟังว่าเสียงที่ได้ยินนั้น คือเสียงอะไร...
* เสียงที่ได้ยินทั้งหมดมีดังนี้ *
สุนัข  หมู  แมว  วัว  ไก่โต้ง  ม้า  แม่ไก่
พ่อไก่  เป็ด  ลา  แกะ  ลูกไก่  เสียงปรบมือ
(เป็นกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เช่น เปิดภาพสัตว์ แล้วให้เด็กทำเสียงตาม)

                และท้ายชั่วโมง อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา    
  # ดิฉันเลือกทำ ช้าง (Elephant )




ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รู้ถึงความหมาย ความสำคัญเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา และได้ประดิษฐ์สื่อซึ่งสามารถนำมาทำเป็นของตกแต่ง เช่น นำไปตั้งโต๊ะ หรือสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนทางภาษาได้ โดยที่เด็กสามารถประดิษฐ์สื่อได้เองและอ่านออกเสียงตาม เช่น  (Elephant ) แปลว่า ช้าง จะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน        

สัปดาห์ที่ 10  


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  16 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน ศุกร์เช้า 8.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

          เนื่องจากสัปดาห์นี้อาจารย์จินตนาไม่ได้เข้าสอน จึงให้อาจารย์โบว์(อาจารย์พิเศษ) มาสอนในวันนี้แทน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายวิธีการทำสื่อและแจกอุปกรณ์ในการทำสื่อให้แต่ละกลุ่ม 

สื่อชิ้นแรก คือ หุ่นนิ้วมืออาเซียน






สื่อชินที่สอง คือ ภาพ POP UP (ภาพเคลื่อนไหว)


* ความรู้ที่ได้จากการทำสื่อและการนำไปใช้ *

             ได้รู้ถึงวิธีการทำหุ่นนิ้วมืออาเซียนและภาพ POP UP ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถทำเองได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือสามารถนำสื่อไปปรับใช้กับเด็กได้